SMILE CONDO NEWSLETTER
November 2015
SMILE CONDO (2011)
SMC is a real estate developer represented by Mr.Visit Chaijindaratana and
Mrs.Nutsarai Chaijindaratana an authorised committees on the Sonrisa
Siracha Condominium Project ,located
on 55 Moo 4 Surasak Sriracha ,Chonburi 20110, Thailand that already sold out
and will be proceed to transfer ownership within December 2015. Sonrisa code is
located next to the beach of Si Racha rarely found in the city just 5 minutes
by car to downtown.
"SONRISA"
is the Spanish wording means
S M I L E
:)
NEWS & ACTIVITY
11 พฤศจิกายน 2558
ทพญ.ณัฏฐ์ศรัย ชัยจินดารัตน์ กรรมการผู้จัดการฯ/รองเลขาธิการหอการค้าจังหวัดชลบุรี ได้เข้าร่วมการประชุมในฐานะผู้แทนหน่วยงานหอการค้าจังหวัด ร่วมvideo conference เพื่อชี้แจงการดำเนินงานในโครงการปรับแผนธุรกิจและเพิ่มขีดความสามารถSMES ณ ห้องประชุมสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เดินหน้า “โครงการปรับแผนธุรกิจ และเพิ่มขีดความสามารถ SMEs
ดร.สมชาย หาญหิรัญ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมความพร้อมเดินหน้าโครงการปรับแผนธุรกิจ และเพิ่มขีดความสามารถ SMEs
ภายหลังได้รับการจัดสรรงบประมาณประจำปี 2558 จากรัฐบาลผ่านสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (สสว.)โดยโครงการมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและพัฒนา SMEs
ให้มีแนวคิดในการพัฒนาจัดการธุรกิจให้เป็นระบบสามารถจัดทำแผนพัฒนาและฟื้นฟูธุรกิจให้มีคุณภาพ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ในเชิงนวัตกรรมโดยประสานงานกับหน่วยงานในพื้นที่ของจังหวัดต่างๆ อาทิ อุตสาหกรรมจังหวัด สภาหอการค้าฯ สภาอุตสาหกรรมฯ เป็นต้น
ทั้งนี้โครงการฯ มีเป้าหมายเปิดรับสมัครผู้ประกอบการ SMEs ภาคการผลิต จำนวน 7,000 กิจการทภาคการค้าและบริการ จำนวน 10,000 กิจการจากทั่วประเทศโดยเฉพาะ SMEs ที่ต้องการปรับแผนธุรกิจให้สอดคล้องกับสภาวการณ์
Crd : กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
16 พฤศจิกายน 2558
ซันไรซ่าศรีราชา
ได้มีการตรวจติดตามการดำเนินการทางด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม(EIA Monitoring ครั้งที่ 2) โดยบริษัท พอสซิเบิล คอนซัลแตนท์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จํากัด เข้าติดตั้งเครื่องตรวจวัดฝุ่นละออง มลพิษทางอากาศ และเสียง ในระยะเวลาการก่อสร้าง รวมถึงการปฏิบัติให้เป็นไปตามแนวทางตามเงื่อนไขมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้รับความเห็นชอบ ตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการผู้ชํานาญการมีมติเห็นชอบรายงานฯโดยสํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยได้ทําการตรวจสอบเก็บรวบรวมข้อมูลผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบ
สิ่งแวดล้อม โดยการตรวจสอบเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการดําเนินการตามมาตรการต่างๆ รวมถึงปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น และการแก้ไข/ปรับปรุงปัญหาดังกล่าว พร้อมทั้งถ่ายภาพการปฏิบัติตามมาตรการต่างๆ เพื่อใช้ประกอบในการจัดทํารายงาน และจัดทําเป็นรายงานสรุปผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไข
ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยในครั้งที่ 1 (รายงานผลในช่วงเดือนมกราคม - มิถุนายน 2558) โครงการซันไรซ่า ศรีราชา สามารถปฏิบัติได้มาตรฐานที่กำหนด
26 พฤศจิกายน 2558
ท่านประธานสุนทร ธัญญวัฒนกุล ประธานหอการค้าจังหวัดชลบุรี
ทพญ.ณัฏฐ์ศรัย ชัยจินดารัตน์ กรรมการผู้จัดการบริษัทในเครือสไมล์กรุ๊ป - รองเลขาธิการหอการค้าจังหวัดชลบุรี
คุณโสภา สงวนหงษ์ ประธานกรรมการบริษัทโสภาการบัญชี
ได้เข้าร่วมการประชุมในโครงการ สร้างระบบสนับสนุนSMEแบบบูรณาการในระดับท้องถิ่น (Regional Integrated SME Promotion Mechanism :RISMEP) ภายใต้โครงการ Business Service Center (BSC) (RISMEP) ประจำปีงบประมาณ 2559 โดย คณะผู้เชียวชาญญี่ปุ่น ร่วมกับ เจ้าหน้าที่ ศภ.9 ร่วมประชุมเพื่อสร้างเครือข่ายหน่วยงาน BDSP และเครือข่าย SP ในการให้บริการส่งเสริม SMEs และ OTOP ในพื้นที่ เพื่อพัฒนารูปแบบ ช่องทางการให้บริการส่งเสริม SMEs และOTOP ในพื้นที่ที่เข้าถึงง่ายและครบวงจร (Single Window) SME ก้าวไกลและเติบโตอย่างเต็มศักยภาพและเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างยั่งยืน
27-29 พฤศจิกายน 2558
ทพญ.ณัฏฐ์ศรัย ชัยจินดารัตน์ กรรมการผู้จัดการบริษัทในเครือสไมล์กรุ๊ป และ รองเลขาธิการหอการค้าจังหวัดชลบุรี ได้เป็นหนึ่งตัวแทนเข้าร่วมการประชุมสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่33 ประจำปี 2558 ที่จะจัดขึ้นในทุกปี ซึ่งวาระนี้จัดขึ้น ณ เซ็นทารา คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ จังหวัดอุดรธานี อีกทั้งได้ร่วมในงานมอบรางวัล"สำเภาทอง"ปี 2558
โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีทางเศรษฐกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ คณะกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้า แห่งประเทศไทย หอการค้าต่างประเทศ ประธาน เลขาธิการ กรรมการ นักธุรกิจรุ่นใหม่ (YEC) หอการค้าจังหวัดทุกจังหวัด ผู้แทนจากส่วนราชการต่าง ๆ สื่อมวลชนจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการหอการค้าไทย เป็นประธานเปิดการสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศครั้งที่ 33 และกล่าวสุนทรพจน์ “นวัตกรรม นำไทย สู่ความเป็นเลิศ” โดยมีนายชยาวุธ จันทร ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี และนายสวาท ธีรัรัตนนุกูลชัย ประธานหอการค้าจังหวัดอุดรธานี ร่วมกล่าวต้อนรับ จากนั้นนายสุธี มากบุญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ร่วมปาฐกถาพิเศษเรื่อง “กระทรวงมหาดไทยกับการเพิ่มศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจในระดับพื้นที่” โดยขอให้ภาคเอกชนทั้ง กรอ. หอการค้า และสภาอุตสาหกรรม ส่งเสริมและสับสนุนการทำงานร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด ควบคู่กับนโยบายรัฐบาล เพื่อความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน ของจังหวัดสู่ระดับประเทศ รวมถึงร่วมกันหาแนวทางในอันที่จะนำการลงทุนมาสู่ระดับภูมิภาค สนับสนุนภาคเศรษฐกิจให้เกื้อหนุนภาคสังคม ช่วยเหลือวิสาหกิจชุมชน และผลิตภัณฑ์โอทอป ต้องใช้ประสบการณ์ในการบริหาร แปลงวิชาการสู่การปฏิบัติ
จากนั้น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้มอบรางวัล “สำเภาทอง” ประจำปี 2558 ให้กับผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งปีนี้มีผู้ว่าราชการจังหวัดและอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดได้รับ จำนวน9 รายประกอบด้วย นายกำธร ถาวรสถิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ,นายณัฐพงศ์ ศิริชนะ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ,นายทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ ,นายธงชัย ลืออดุลย์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ,นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ ,ดร.สมศักดิ์ จังตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ,นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ,นายเสรี ศรีหะไตร ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ และนายอภิชาติ โตดิลกเวชช์ อธิบดีกรมพัฒนาชุมชน อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สำหรับ ในภาคบ่ายยังมีการแบ่งกลุ่มสัมมนาเรื่อง “สร้างความแตกต่างด้วยบริการเชิงสร้างสรรค์” “การขับเคลื่อนธุรกิจด้วยนวัตกรรม” และ “ประสิทธิภาพและมาตรฐานของเกษตรและอาหาร” นอกจากนี้ภาคค่ำ ดร.สุวิทย์ เมษาทรีย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ร่วมปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “นวัตกรรม นำการค้าสู่ความยั่งยืน” และนางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จะปาฐกถาพิเศษเรื่อง “นวัตกรรมเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน” รวมถึงการมอบรางวัลรณรงค์การเพิ่มสมาชิก รางวัลหอการค้ายอดเยี่ยม การมอบธงให้กับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เจ้าภาพการจัดสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศครั้งที่ 34 ปี 2559
ขอบคุณข้อมูลจาก website thainews.prd.go.th
NEWS & KNOWLEDGE
ศรีราชา 1 เมืองในแผนพัฒนาอุตสาหกรรมหลายแขนงจากภาครัฐ เมืองเล็กๆ ที่มีศักยภาพในการพัฒนาได้อย่างยอดเยี่ยม
ภาครัฐยึดโมเดลนิคมอุตฯภาคตะวันออก จากที่ปัจจุบัน 6 ใน 10 อุตฯเป้าหมาย ทั้ง First S-Curve และ New-S-Curve ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก คือ
*ยานยนต์แห่งอนาคตอยู่ในพื้นที่ ชลบุรีและศรีราชา
*อุตฯอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะอยู่ในสมุทรปราการ ชลบุรี ศรีราชา
*ท่องเที่ยวระดับคุณภาพอยู่ที่พัทยา ระยอง
*อุตฯหุ่นยนต์อยู่ในชลบุรี ศรีราชา
*อุตฯการบินอยู่ที่อู่ตะเภา สัตหีบ
*อุตฯไบโอเคมี อยู่ที่มาบตาพุด
จากปัจจัยพื้นฐานความแข็งแกร่งจากในอดีต รัฐบาลจึงจะนำเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออกมาเป็นตัวจุดประกายในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจการลงทุนพิเศษ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุตฯเป้าหมายทั้ง 10 อุตฯ
รัฐกางสูตรส่งเสริม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคต ให้สิทธิพิเศษภาษี-ถือครองที่ดิน 99 ปี ดีลตรงต่างชาติ 70 บริษัทต่อยอดอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่-อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ-ท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี-เกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ-การแปรรูปอาหาร ดัน 5 กลุ่มใหม่ ยึดโมเดลชายฝั่งทะเลตะวันออกเป็นต้นแบบ เอกชนขานรับ
แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรมเปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากที่รัฐบาลได้ออกมาตรการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในระยะสั้น โดยมุ่งช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย เกษตรกร ผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) การเร่งรัดเบิกจ่ายโครงการลงทุนภาครัฐ การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน รวมทั้งช่วยเหลือภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และคนซื้อบ้าน ซึ่งหลายมาตรการเริ่มปรากฏผลทิศทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มดีขึ้นตามลำดับ
ล่าสุด กระทรวงเสาหลักด้านเศรษฐกิจ 7 กระทรวงร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการตามนโยบายระยะยาวเพื่อสร้างอนาคตของประเทศไทย ที่ทีมเศรษฐกิจรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กำลังเร่งขับเคลื่อนผลักดันด้วยการปรับโครงสร้างด้านการผลิตทั้งภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และการบริการ ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการรับฟังความคิดเห็นและการให้ข้อเสนอแนะโดยนักลงทุนและเจ้าของเทคโนโลยีสำคัญทั่วโลกกว่า 70 ราย นำมากำหนดแผนและนโยบายในการส่งเสริมการลงทุน "อุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่อนาคต"
ชูธง 10 อุตฯเป้าหมาย
เป็นเหมือนคู่มือแนะนำและดึงดูดให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายในประเทศไทย ประกอบด้วย 1.การต่อยอดอุตสาหกรรมเดิม (First S-Curve) ได้แก่ 1.1 อุตฯยานยนต์สมัยใหม่ (Next-generation Automotive) 1.2. อุตฯอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics) 1.3.อุตฯการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Affuent, Medical and Wellness Tourism)
1.4 การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture and Biotechnology) และ 1.5 อุตฯการแปรรูปอาหาร (Food for the Future)
2.เพิ่ม 5 อุตฯอนาคต (New-S-Curve) ซึ่งเป็นอุตฯใหม่ที่ไทยมีศักยภาพในการแข่งขันและมีผู้สนใจลงทุน ได้แก่ 2.1 อุตฯหุ่นยนต์ (Robotics) 2.2 อุตฯการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics) 2.3 อุตฯเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (Biofuels and Biochemicals) 2.4 อุตฯดิจิทัล (Digital) และ 2.5 อุตฯการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub)
เปิดพื้นที่ส่งเสริมอุตฯอนาคตไทย
แนวทางพัฒนาระยะสั้น-ปานกลาง จะยกระดับอุตฯเดิม 5 อุตฯเป้าหมายที่เป็น First S-Curve เพื่อต่อยอดการเจริญเติบโต ระยะยาว พัฒนาอุตฯแห่งอนาคต 5 อุตฯเป้าหมาย หรือ New-S-Curve เพื่อยกระดับเศรษฐกิจไทยแบบก้าวกระโดด โดยในส่วนของอุตฯอนาคตกำหนดพื้นที่ส่งเสริมการลงทุนดังนี้ อุตฯหุ่นยนต์ พื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก อุตฯการขนส่งและการบิน พื้นที่สนามบินพัทยา-อู่ตะเภา อุตฯการแพทย์ครบวงจร พื้นที่วิจัยและพัฒนาให้อยู่ในโรงเรียนแพทย์ คลัสเตอร์การแพทย์ เช่น กรุงเทพมหานคร (กทม.) พัทยา อุตฯเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ อยู่ในพื้นที่ปลูกอ้อย มันสำปะหลัง และอุตฯต่อเนื่องอยู่บริเวณมาบตาพุด อุตฯดิจิทัลอยู่ในเมืองใหญ่ทั่วประเทศ เช่น กทม. เชียงใหม่ ภูเก็ต
ยึดโมเดลนิคมอุตฯภาคตะวันออก
ทั้งนี้ จากที่ปัจจุบัน 6 ใน 10 อุตฯเป้าหมาย
ทั้ง First S-Curve และ New-S-Curve ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก คือ ยานยนต์แห่งอนาคตอยู่ในพื้นที่ ชลบุรีและศรีราชา อุตฯอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะอยู่ในสมุทรปราการ ชลบุรี ศรีราชา ท่องเที่ยวระดับคุณภาพอยู่ที่พัทยา ระยอง อุตฯหุ่นยนต์อยู่ในชลบุรี ศรีราชา อุตฯการบินอยู่ที่อู่ตะเภา สัตหีบ และอุตฯไบโอเคมี อยู่ที่มาบตาพุด จากปัจจัยพื้นฐานความแข็งแกร่งจากในอดีต รัฐบาลจึงจะนำเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออกมาเป็นตัวจุดประกายในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจการลงทุนพิเศษ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุตฯเป้าหมายทั้ง 10 อุตฯ
ทั้งนี้ปัจจัยความสำเร็จในการดึงนักลงทุนจากทั่วโลกต้องมีกลไกการกำกับดูแลการพัฒนาอุตฯเป้าหมายและเขตเศรษฐกิจพิเศษซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมาย ประกอบด้วย 1.คณะกรรมการการลงทุนอุตฯเป้าหมาย ทำหน้าที่กำหนดแผนการลงทุน กำหนดผู้ลงทุนรายสำคัญ 2.คณะกรรมการกองทุนเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรม มีหน้าที่เจรจากับผู้ลงทุนรายสำคัญ เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทั่วไปและสิทธิประโยชน์พิเศษ 3.คณะกรรมการกำกับดูแลเขตเศรษฐกิจพิเศษ หรือเขตเศรษฐกิจการลงทุนพิเศษ ทำหน้าที่อนุมัติแผนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ โครงการการลงทุนคลัสเตอร์ โครงสร้างพื้นฐาน และบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยมีสำนักงานบริหารเขตเศรษฐกิจการลงทุนพิเศษ ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุน ดำเนินการด้านสิทธิประโยชน์ และติดตามความคืบหน้าในการติดต่อและชักจูงนักลงทุนกลุ่มเป้าหมายและเป็นเลขานุการให้คณะกรรมการระดับชาติ
ตั้งกองทุนพัฒนาเศรษฐกิจ
ขณะเดียวกันเพื่อผลักดันให้การลงทุนในอุตฯเป้าหมายเกิดขึ้นเป็นรูปธรรม รัฐบาลกำหนดมาตรการส่งเสริมการลงทุน ประกอบด้วยมาตรการทางการเงิน มาตรการทางการคลัง และมาตรการส่งเสริมอื่น ๆ เพิ่มเติม นอกเหนือจากมาตรการส่งเสริมการลงทุนภายใต้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ทั้งนี้ กรอบนโยบายและมาตรการส่งเสริมทั้งด้าน
การเงิน การคลัง และมาตรการอื่น ๆ ที่นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ และ 7 กระทรวงเศรษฐกิจเสนอ และได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว
งัดมาตรการการเงิน-การคลังหนุน
ในส่วนของมาตรการทางการเงินจะจัดตั้ง "กองทุนพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรม" ขึ้น ทำหน้าที่ให้เงินสนับสนุนให้เงินกู้ยืม หรือชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ หรือเป็นกองทุนในการลงทุนโครงการลงทุนพิเศษ โดยสามารถให้เงินสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนา รวมทั้งสร้างบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอุตฯเป้าหมาย และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงอุตสาหกรรม
มาตรการการคลัง อาทิ กำหนดสิทธิประโยชน์พิเศษ ยกเว้นอัตราภาษีนิติบุคคลเป็นเวลา 10-15 ปี สำหรับโครงการที่มีความสำคัญสูงในอุตฯเป้าหมาย เพิ่มเติมจากสิทธิประโยชน์สูงสุด 8 ปี ตามมาตรการส่งเสริมการลงทุนทั่วไป กำหนดสิทธิประโยชน์พิเศษยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผู้เชี่ยวชาญไม่เกิน 15% อัตราภาษีรายได้บุคคลธรรมดา
ของผู้เชี่ยวชาญชั้นนำระดับนานาชาติ และไม่เกิน 15% สำหรับผู้เชี่ยวชาญระดับสูง และผู้บริหารระดับสูงที่จำเป็นในโครงการลงทุน และสามารถสร้างประโยชน์ให้ประเทศ และแก้ไขโครงสร้างอากรขาเข้าชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตหรือให้บริการในอุตฯเป้าหมาย (หรือใช้มาตรา 12 ของกระทรวงการคลัง) เนื่องจากอัตราอากรของชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์สูงกว่าผลิตภัณฑ์ รวมทั้งยกเว้นอากรขาเข้าของนำเข้าเพื่อทำการวิจัย พัฒนา หรือทดสอบ
สิทธิเข้า-ออก ปท.-ถือที่ดิน 99 ปี
ส่วนมาตรการอื่น ๆ ประกอบด้วย การกำหนดสิทธิประโยชน์การเข้าออก และการทำงานของผู้เชี่ยวชาญและเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากต่างประเทศ เทียบเท่าคนไทยครั้งละ 5 ปี ตลอดอายุการส่งเสริมการลงทุน กำหนดสัดส่วนการถือหุ้นสำหรับนักลงทุนต่างชาติ 100% ในระยะเริ่มต้น หรือกรณีเป็นการลงทุนวิจัยและพัฒนา (R&D) ที่เกี่ยวข้องกับลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร ซึ่งนักลงทุนไทยไม่มีความเชี่ยวชาญ และกำหนดสิทธิประโยชน์พิเศษให้ผู้ลงทุนต่างชาติ การถือครองที่ดิน 99 ปี โดยขายคืนให้รัฐบาลเมื่อครบกำหนด
ธุรกิจโรงพยาบาลหนุนเต็บสูบ
นพ.เฉลิม หาญพาณิชย์ ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.บางกอก เชน ฮอสปิทอล และที่ปรึกษาสมาคมโรงพยาบาลเอกชน มองว่า นโยบายดังกล่าวควรทำมานานแล้ว เพราะธุรกิจการแพทย์เป็นอุตฯบริการ และการจะผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ของภูมิภาคหรือของโลกในอนาคตมีความจำเป็น ต้องมีความชัดเจนเชิงนโยบายและปรับปรุงข้อจำกัดต่าง ๆ ทั้งเชิงกฎหมายการลงทุน การขอวีซ่าเข้าประเทศ การผลิตบุคลากรการแพทย์ที่ต้องให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการผลิต เพื่อตอบโจทย์และลดการขาดแคลน
"ควรทำมานานแล้วและทำให้ชัดเจน วันนี้มีการพูดแล้วว่าธุรกิจเฮลท์แคร์น่าจะเป็นธุรกิจบริการดาวเด่น อาทิตย์ที่แล้วมีการเรียกคุยไปแล้ว 1 รอบ ภายในสัปดาห์นี้กำลังทำแผนอยู่ น่าจะหารือกันอีกเป็นระยะ ๆ นโยบายดังกล่าวไม่มีกลุ่มไหนได้ประโยชน์ แต่เป็นประเทศไทยได้ประโยชน์ ทุกคนคาดหวังว่าจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านเฮลท์แคร์ เพราะการเปิดอาเซียนจะเริ่มขึ้นแล้ว"
สิทธิประโยชน์ใหม่จูงใจพอ
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า มั่นใจว่าการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษรูปแบบคลัสเตอร์จะเกิดขึ้นได้แน่นอน
จากมาตรการส่งเสริมการลงทุนที่รัฐใช้เป็นเครื่องมือเร่งรัดให้เกิดการลงทุนจริง อาทิ มาตรการทางภาษีของบีโอไอ เช่น ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 8 ปี ลดหย่อนภาษี 50% เพิ่มเติม 5 ปี ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร และมาตรการทางการคลังที่อยู่ระหว่างพิจารณาให้กิจการเพื่ออนาคตยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 10-15 ปี และจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 0-15%
สำหรับผู้เชี่ยวชาญชั้นนำในระดับนานาชาติที่ทำงานในพื้นที่กำหนดทั้งคนไทยและต่างชาติ รวมถึงกองทุนเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันอุตสาหกรรมเป้าหมายในประเทศ วงเงิน 10,000 ล้านบาท และอื่น ๆ ถือว่าเพียงพอแล้ว และกลุ่มนักลงทุนอุตฯเป้าหมายอย่างไฮเทคโนโลยีสนใจเข้ามาลงทุนมากกว่าเดิม เพราะปัจจัยหลายอย่างจูงใจ เช่น สิทธิประโยชน์ เศรษฐกิจที่กำลังฟื้น เห็นได้จากยอดขอส่งเสริมการลงทุนมีเกือบ 2,000 โครงการ มูลค่า 6.9 แสนล้านบาท
"ส่วนที่มองว่าสิทธิประโยชน์ที่รัฐให้ยังไม่พอ อาจมีแค่บางกลุ่มเท่านั้น ซึ่งไม่อยากให้เอาไปเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะสิทธิประโยชน์และค่าแรง ควรมองว่าไทยเองมีความพร้อมและเหนือกว่าคู่แข่งเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภค โลจิสติกส์"
กลุ่มยานยนต์ขานรับลงทุน
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ส.อ.ท. กล่าวว่า กลุ่มยานยนต์เป็นส่วนหนึ่งในอุตฯเป้าหมายที่ถูกผลักดันให้เกิดเป็นคลัสเตอร์ และยกระดับสู่การเป็นซูเปอร์คลัสเตอร์ มั่นใจว่ารัฐเดินมาถูกทางกับการพัฒนาอุตฯในประเทศ และทุก ๆ มาตรการส่งเสริมที่ออกมาจะเป็นส่วนสำคัญให้นักลงทุนรายเก่าที่ลงทุนอยู่แล้วไม่ย้าย
การผลิตไปไหน แต่จะทำการวิจัยเพิ่มเพื่อต่อยอดพัฒนาสินค้ารองรับการขยายธุรกิจแทน นอกจากนี้นักลงทุนรายใหม่จะหันกลับมาพิจารณาลงทุนในไทยมากขึ้น จากเดิมที่จะไปลงทุนในประเทศที่มีค่าแรงถูก แต่ไม่เอื้อในเรื่องความพร้อมอื่น ๆ
"ทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดนี้ทำให้ผู้ประกอบการในกลุ่มยานยนต์กระปรี้กระเปร่าขึ้น โดยเฉพาะผู้ผลิตรายเล็ก ๆ ในท้องถิ่นสอบถามเข้ามามาก ปัจจุบันกลุ่มยานยนต์มีภาคการผลิตที่เป็นคลัสเตอร์กันอยู่แล้ว และส่วนใหญ่กระจายตั้งโรงงานอยู่ในภาคตะวันออก ทั้งชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา โดยกลุ่มอุตฯยานยนต์เองมองเห็นศักยภาพของพื้นที่ อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา ว่าน่าจะพัฒนาเป็นเมืองคลัสเตอร์ยานยนต์/ชิ้นส่วนยานยนต์"
Crd : updated: 28 พ.ย. 2558 เวลา 10:30:59 น. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรมเปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากที่รัฐบาลได้ออกมาตรการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในระยะสั้น โดยมุ่งช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย เกษตรกร ผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) การเร่งรัดเบิกจ่ายโครงการลงทุนภาครัฐ การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน รวมทั้งช่วยเหลือภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และคนซื้อบ้าน ซึ่งหลายมาตรการเริ่มปรากฏผลทิศทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มดีขึ้นตามลำดับ
ล่าสุด กระทรวงเสาหลักด้านเศรษฐกิจ 7 กระทรวงร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการตามนโยบายระยะยาวเพื่อสร้างอนาคตของประเทศไทย ที่ทีมเศรษฐกิจรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กำลังเร่งขับเคลื่อนผลักดันด้วยการปรับโครงสร้างด้านการผลิตทั้งภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และการบริการ ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการรับฟังความคิดเห็นและการให้ข้อเสนอแนะโดยนักลงทุนและเจ้าของเทคโนโลยีสำคัญทั่วโลกกว่า 70 ราย นำมากำหนดแผนและนโยบายในการส่งเสริมการลงทุน "อุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่อนาคต"
ชูธง 10 อุตฯเป้าหมาย
เป็นเหมือนคู่มือแนะนำและดึงดูดให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายในประเทศไทย ประกอบด้วย 1.การต่อยอดอุตสาหกรรมเดิม (First S-Curve) ได้แก่ 1.1 อุตฯยานยนต์สมัยใหม่ (Next-generation Automotive) 1.2. อุตฯอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics) 1.3.อุตฯการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Affuent, Medical and Wellness Tourism)
1.4 การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture and Biotechnology) และ 1.5 อุตฯการแปรรูปอาหาร (Food for the Future)
2.เพิ่ม 5 อุตฯอนาคต (New-S-Curve) ซึ่งเป็นอุตฯใหม่ที่ไทยมีศักยภาพในการแข่งขันและมีผู้สนใจลงทุน ได้แก่ 2.1 อุตฯหุ่นยนต์ (Robotics) 2.2 อุตฯการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics) 2.3 อุตฯเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (Biofuels and Biochemicals) 2.4 อุตฯดิจิทัล (Digital) และ 2.5 อุตฯการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub)
เปิดพื้นที่ส่งเสริมอุตฯอนาคตไทย
แนวทางพัฒนาระยะสั้น-ปานกลาง จะยกระดับอุตฯเดิม 5 อุตฯเป้าหมายที่เป็น First S-Curve เพื่อต่อยอดการเจริญเติบโต ระยะยาว พัฒนาอุตฯแห่งอนาคต 5 อุตฯเป้าหมาย หรือ New-S-Curve เพื่อยกระดับเศรษฐกิจไทยแบบก้าวกระโดด โดยในส่วนของอุตฯอนาคตกำหนดพื้นที่ส่งเสริมการลงทุนดังนี้ อุตฯหุ่นยนต์ พื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก อุตฯการขนส่งและการบิน พื้นที่สนามบินพัทยา-อู่ตะเภา อุตฯการแพทย์ครบวงจร พื้นที่วิจัยและพัฒนาให้อยู่ในโรงเรียนแพทย์ คลัสเตอร์การแพทย์ เช่น กรุงเทพมหานคร (กทม.) พัทยา อุตฯเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ อยู่ในพื้นที่ปลูกอ้อย มันสำปะหลัง และอุตฯต่อเนื่องอยู่บริเวณมาบตาพุด อุตฯดิจิทัลอยู่ในเมืองใหญ่ทั่วประเทศ เช่น กทม. เชียงใหม่ ภูเก็ต
ยึดโมเดลนิคมอุตฯภาคตะวันออก
ทั้งนี้ จากที่ปัจจุบัน 6 ใน 10 อุตฯเป้าหมาย
ทั้ง First S-Curve และ New-S-Curve ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก คือ ยานยนต์แห่งอนาคตอยู่ในพื้นที่ ชลบุรีและศรีราชา อุตฯอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะอยู่ในสมุทรปราการ ชลบุรี ศรีราชา ท่องเที่ยวระดับคุณภาพอยู่ที่พัทยา ระยอง อุตฯหุ่นยนต์อยู่ในชลบุรี ศรีราชา อุตฯการบินอยู่ที่อู่ตะเภา สัตหีบ และอุตฯไบโอเคมี อยู่ที่มาบตาพุด จากปัจจัยพื้นฐานความแข็งแกร่งจากในอดีต รัฐบาลจึงจะนำเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออกมาเป็นตัวจุดประกายในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจการลงทุนพิเศษ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุตฯเป้าหมายทั้ง 10 อุตฯ
ทั้งนี้ปัจจัยความสำเร็จในการดึงนักลงทุนจากทั่วโลกต้องมีกลไกการกำกับดูแลการพัฒนาอุตฯเป้าหมายและเขตเศรษฐกิจพิเศษซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมาย ประกอบด้วย 1.คณะกรรมการการลงทุนอุตฯเป้าหมาย ทำหน้าที่กำหนดแผนการลงทุน กำหนดผู้ลงทุนรายสำคัญ 2.คณะกรรมการกองทุนเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรม มีหน้าที่เจรจากับผู้ลงทุนรายสำคัญ เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทั่วไปและสิทธิประโยชน์พิเศษ 3.คณะกรรมการกำกับดูแลเขตเศรษฐกิจพิเศษ หรือเขตเศรษฐกิจการลงทุนพิเศษ ทำหน้าที่อนุมัติแผนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ โครงการการลงทุนคลัสเตอร์ โครงสร้างพื้นฐาน และบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยมีสำนักงานบริหารเขตเศรษฐกิจการลงทุนพิเศษ ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุน ดำเนินการด้านสิทธิประโยชน์ และติดตามความคืบหน้าในการติดต่อและชักจูงนักลงทุนกลุ่มเป้าหมายและเป็นเลขานุการให้คณะกรรมการระดับชาติ
ตั้งกองทุนพัฒนาเศรษฐกิจ
ขณะเดียวกันเพื่อผลักดันให้การลงทุนในอุตฯเป้าหมายเกิดขึ้นเป็นรูปธรรม รัฐบาลกำหนดมาตรการส่งเสริมการลงทุน ประกอบด้วยมาตรการทางการเงิน มาตรการทางการคลัง และมาตรการส่งเสริมอื่น ๆ เพิ่มเติม นอกเหนือจากมาตรการส่งเสริมการลงทุนภายใต้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ทั้งนี้ กรอบนโยบายและมาตรการส่งเสริมทั้งด้าน
การเงิน การคลัง และมาตรการอื่น ๆ ที่นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ และ 7 กระทรวงเศรษฐกิจเสนอ และได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว
งัดมาตรการการเงิน-การคลังหนุน
ในส่วนของมาตรการทางการเงินจะจัดตั้ง "กองทุนพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรม" ขึ้น ทำหน้าที่ให้เงินสนับสนุนให้เงินกู้ยืม หรือชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ หรือเป็นกองทุนในการลงทุนโครงการลงทุนพิเศษ โดยสามารถให้เงินสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนา รวมทั้งสร้างบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอุตฯเป้าหมาย และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงอุตสาหกรรม
มาตรการการคลัง อาทิ กำหนดสิทธิประโยชน์พิเศษ ยกเว้นอัตราภาษีนิติบุคคลเป็นเวลา 10-15 ปี สำหรับโครงการที่มีความสำคัญสูงในอุตฯเป้าหมาย เพิ่มเติมจากสิทธิประโยชน์สูงสุด 8 ปี ตามมาตรการส่งเสริมการลงทุนทั่วไป กำหนดสิทธิประโยชน์พิเศษยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผู้เชี่ยวชาญไม่เกิน 15% อัตราภาษีรายได้บุคคลธรรมดา
ของผู้เชี่ยวชาญชั้นนำระดับนานาชาติ และไม่เกิน 15% สำหรับผู้เชี่ยวชาญระดับสูง และผู้บริหารระดับสูงที่จำเป็นในโครงการลงทุน และสามารถสร้างประโยชน์ให้ประเทศ และแก้ไขโครงสร้างอากรขาเข้าชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตหรือให้บริการในอุตฯเป้าหมาย (หรือใช้มาตรา 12 ของกระทรวงการคลัง) เนื่องจากอัตราอากรของชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์สูงกว่าผลิตภัณฑ์ รวมทั้งยกเว้นอากรขาเข้าของนำเข้าเพื่อทำการวิจัย พัฒนา หรือทดสอบ
สิทธิเข้า-ออก ปท.-ถือที่ดิน 99 ปี
ส่วนมาตรการอื่น ๆ ประกอบด้วย การกำหนดสิทธิประโยชน์การเข้าออก และการทำงานของผู้เชี่ยวชาญและเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากต่างประเทศ เทียบเท่าคนไทยครั้งละ 5 ปี ตลอดอายุการส่งเสริมการลงทุน กำหนดสัดส่วนการถือหุ้นสำหรับนักลงทุนต่างชาติ 100% ในระยะเริ่มต้น หรือกรณีเป็นการลงทุนวิจัยและพัฒนา (R&D) ที่เกี่ยวข้องกับลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร ซึ่งนักลงทุนไทยไม่มีความเชี่ยวชาญ และกำหนดสิทธิประโยชน์พิเศษให้ผู้ลงทุนต่างชาติ การถือครองที่ดิน 99 ปี โดยขายคืนให้รัฐบาลเมื่อครบกำหนด
ธุรกิจโรงพยาบาลหนุนเต็บสูบ
นพ.เฉลิม หาญพาณิชย์ ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.บางกอก เชน ฮอสปิทอล และที่ปรึกษาสมาคมโรงพยาบาลเอกชน มองว่า นโยบายดังกล่าวควรทำมานานแล้ว เพราะธุรกิจการแพทย์เป็นอุตฯบริการ และการจะผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ของภูมิภาคหรือของโลกในอนาคตมีความจำเป็น ต้องมีความชัดเจนเชิงนโยบายและปรับปรุงข้อจำกัดต่าง ๆ ทั้งเชิงกฎหมายการลงทุน การขอวีซ่าเข้าประเทศ การผลิตบุคลากรการแพทย์ที่ต้องให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการผลิต เพื่อตอบโจทย์และลดการขาดแคลน
"ควรทำมานานแล้วและทำให้ชัดเจน วันนี้มีการพูดแล้วว่าธุรกิจเฮลท์แคร์น่าจะเป็นธุรกิจบริการดาวเด่น อาทิตย์ที่แล้วมีการเรียกคุยไปแล้ว 1 รอบ ภายในสัปดาห์นี้กำลังทำแผนอยู่ น่าจะหารือกันอีกเป็นระยะ ๆ นโยบายดังกล่าวไม่มีกลุ่มไหนได้ประโยชน์ แต่เป็นประเทศไทยได้ประโยชน์ ทุกคนคาดหวังว่าจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านเฮลท์แคร์ เพราะการเปิดอาเซียนจะเริ่มขึ้นแล้ว"
สิทธิประโยชน์ใหม่จูงใจพอ
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า มั่นใจว่าการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษรูปแบบคลัสเตอร์จะเกิดขึ้นได้แน่นอน
จากมาตรการส่งเสริมการลงทุนที่รัฐใช้เป็นเครื่องมือเร่งรัดให้เกิดการลงทุนจริง อาทิ มาตรการทางภาษีของบีโอไอ เช่น ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 8 ปี ลดหย่อนภาษี 50% เพิ่มเติม 5 ปี ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร และมาตรการทางการคลังที่อยู่ระหว่างพิจารณาให้กิจการเพื่ออนาคตยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 10-15 ปี และจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 0-15%
สำหรับผู้เชี่ยวชาญชั้นนำในระดับนานาชาติที่ทำงานในพื้นที่กำหนดทั้งคนไทยและต่างชาติ รวมถึงกองทุนเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันอุตสาหกรรมเป้าหมายในประเทศ วงเงิน 10,000 ล้านบาท และอื่น ๆ ถือว่าเพียงพอแล้ว และกลุ่มนักลงทุนอุตฯเป้าหมายอย่างไฮเทคโนโลยีสนใจเข้ามาลงทุนมากกว่าเดิม เพราะปัจจัยหลายอย่างจูงใจ เช่น สิทธิประโยชน์ เศรษฐกิจที่กำลังฟื้น เห็นได้จากยอดขอส่งเสริมการลงทุนมีเกือบ 2,000 โครงการ มูลค่า 6.9 แสนล้านบาท
"ส่วนที่มองว่าสิทธิประโยชน์ที่รัฐให้ยังไม่พอ อาจมีแค่บางกลุ่มเท่านั้น ซึ่งไม่อยากให้เอาไปเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะสิทธิประโยชน์และค่าแรง ควรมองว่าไทยเองมีความพร้อมและเหนือกว่าคู่แข่งเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภค โลจิสติกส์"
กลุ่มยานยนต์ขานรับลงทุน
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ส.อ.ท. กล่าวว่า กลุ่มยานยนต์เป็นส่วนหนึ่งในอุตฯเป้าหมายที่ถูกผลักดันให้เกิดเป็นคลัสเตอร์ และยกระดับสู่การเป็นซูเปอร์คลัสเตอร์ มั่นใจว่ารัฐเดินมาถูกทางกับการพัฒนาอุตฯในประเทศ และทุก ๆ มาตรการส่งเสริมที่ออกมาจะเป็นส่วนสำคัญให้นักลงทุนรายเก่าที่ลงทุนอยู่แล้วไม่ย้าย
การผลิตไปไหน แต่จะทำการวิจัยเพิ่มเพื่อต่อยอดพัฒนาสินค้ารองรับการขยายธุรกิจแทน นอกจากนี้นักลงทุนรายใหม่จะหันกลับมาพิจารณาลงทุนในไทยมากขึ้น จากเดิมที่จะไปลงทุนในประเทศที่มีค่าแรงถูก แต่ไม่เอื้อในเรื่องความพร้อมอื่น ๆ
"ทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดนี้ทำให้ผู้ประกอบการในกลุ่มยานยนต์กระปรี้กระเปร่าขึ้น โดยเฉพาะผู้ผลิตรายเล็ก ๆ ในท้องถิ่นสอบถามเข้ามามาก ปัจจุบันกลุ่มยานยนต์มีภาคการผลิตที่เป็นคลัสเตอร์กันอยู่แล้ว และส่วนใหญ่กระจายตั้งโรงงานอยู่ในภาคตะวันออก ทั้งชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา โดยกลุ่มอุตฯยานยนต์เองมองเห็นศักยภาพของพื้นที่ อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา ว่าน่าจะพัฒนาเป็นเมืองคลัสเตอร์ยานยนต์/ชิ้นส่วนยานยนต์"
Crd : updated: 28 พ.ย. 2558 เวลา 10:30:59 น. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
CONSTRUCTION UPDATE
Sonrisa Siracha Condo กับ Landscape ไม้มงคล ด้านทิศตะวันตก
ธรรมรักษา (Heliconia)
เป็นไม้มงคล ไว้ประจำบ้าน จะช่วยคุ้มครองและรักษา ใหเกิดความสงบสุขแก่บ้านและผู้อาศัย เพราะ ธรรมรักษา เป็นไม้มงคลนาม นอกจากนี้ยังได้นำดอกของธรรมรักษา มาประกอบในพิธีบูชาพระได้เป็นอย่างดีอีกด้วย เพราะ ธรรมรักษา หรือ ธรรมะ คือการักษาในสิ่งที่ดีงาม มีคุณธรรมซึ่งควรเคารพและบูชา ดังนั้นจึงเชื่อว่า การรักษาธรรมะ หรือ ธรรมรักษา คือ การช่วยคุ้มครองรักษานั่นเอง เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัยควรปลูก
หมากเขียว (Green betel Palm)
ปลูกไว้จะช่วยเสริมให้มีบุญบารมี ช่วยคุ้มครองให้อยู่เย็นเป็นสุข หมากเขียวนี้จะแตกหน่อขึ้นเป็นกอรอบลำต้นลักษณะของกอสูงประมาณ 10-20 ฟุต ลำต้นมีขนาด3-4 นิ้ว มีสีเขียวปนเทาหรือน้ำตาลปนเทา เมื่อแก่มีข้อปล้องที่มองเห็นได้ชัดที่ลำต้นใบมีสีเขียวแก่ ส่วนใต้ใบสีเขียวอ่อนมีลักษณะรูปขนนก ทางใบยาวประมาณ 8-9 ฟุต ก้านใบยาว 1-2 ฟุต ใบย่อยยาวประมาณ 3-4 ฟุต ปลายตัดและเป็นฟันแหลม นิยมปลูกเป็นไม้ประดับกันมาก สามารถอยู่ได้ทั้งในร่มและกลางแดด
CRD : rukbarn.com , m-culture.in.th